ศูนย์คอมพิวเตอร์

งานพัฒนาโปรแกรม
งานพัฒนาระบบ Information system
งานสอนโปรแกรม

                         ศูนย์คอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลท่าตูม

		โรงพยาบาลท่าตูมได้อนุมัติโครงการจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม  2535

    วัตถุประสงค์

  1. เป็นศูนย์กลางด้านข้อมูลข่าวสารและคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลท่าตูม
  2. จัดมาตรฐานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับงานแต่ละหน่วยงาน
  3. สนับสนุนการพัฒนางานของกลุ่มงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งด้านบริการผู้ป่วย บริหารจัดการและงานศึกษาวิจัย
  4. รับผิดชอบการจัดให้มีระบบสารสนเทศการบริหารงานโรงพยาบาล
  5. ประสานงานกับศูนย์คอมพิวเตอร์ สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในอันที่จะให้ได้มาตรฐานของ ระบบงานที่สามารถเชื่อมโยงกันได้มากที่สุด

 

TOUCAN.WMF (6416 bytes)คณะกรรมการศูนย์คอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยTOUCAN.WMF (6416 bytes)

นส. สุภวรรณ ขยันตรวจ หัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์
นายไพบูลย์ ภัทเสมา กรรมการ
นายราเชนทร์ ละเมียดดี กรรมการ
นายบัญชา บุญสุข กรรมการ
นายแพทย์สุรพันธ์ ทวีวิกยการ เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ File Server

    การดำเนินกิจกรรม   
    ศูนย์คอมพิวเตอร์ให้การสนับสนุนเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลท่าตูมที่มีความสนใจในเรื่องคอมพิวเตอร์ จัดตั้งเป็นชมรมคอมพิวเตอร์ขึ้นเพื่อร่วมกับศูนย์ ฯ ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่าง ๆ โดยศูนย์ ฯ จัดหาสถานที่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆให้และสนับสนุนการฝึกอบรม กิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้วได้แก่

  1. เป็นศูนย์กลางจัดมาตรฐานเครื่องคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลเพื่อให้ได้มาตรฐาน อันเดียวกัน เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการอนุมัติ จัดซื้อได้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพในราคายุติธรรม
  2. จัดการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลท่าตูม ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในเรื่อง DOS, WINDOWS,MS-WORDS, MS-EXCEL เป็นต้น ได้ทำการอบรมเจ้าหน้าที่ไปแล้วประมาณ 300 คนขึ้นไปและมีแผนการจัดฝึกอบรมในเรื่องต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น โปรแกรม Presentation, Internet
  3. จัดทำ Presentation ในแบบ Multimedia ในเรื่องเกี่ยวกับโรงพยาบาลท่าตูม เพื่อนำเสนอในการประชุมและนิเทศน์งานต่าง ๆ
  4. จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปรับการฝึกอบรมจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ( NECTEC )เพื่อให้ได้ สิทธิการฝึกอบรมด้านคอมพิวเตอร์แก่ข้าราชการที่จะปรับวุฒิจากซี 5 ไป ซี 6 ทำให้สามารถจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ได้ด้วยตนเอง
  5. รับผิดชอบและร่วมในการประชุมวางแผนโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริการของโรงพยาบาลท่าตูมซึ่งเป็นโครงการ ที่นำเอาคอมพิวเตอร์มาให้ความสะดวกในด้านบริการผู้ป่วยในลักษณะ on-line ลดขั้นตอนซ้ำซ้อนต่าง ๆ ผู้ป่วยจะได้บริการที่รวดเร็วขึ้น สะดวกมากขึ้น
  6. ร่วมกับฝ่ายวิชาการในการพัฒนาบริการของโรงพยาบาลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การใช้ Bar Code ในงานเวชระเบียนและคลังยา
  7. ด้านประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นการ เตรียมความพร้อมของ เจ้าหน้าที่ในโครงการพัฒนาบริการของโรงพยาบาลด้วยคอมพิวเตอร์และสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ใช้คอมพิวเตอร์

    เป้าหมาย

  1. ด้านบริการ ผู้ป่วยได้รับความสะดวก รวดเร็วและประสิทธิภาพมากขึ้น การรักษาพยาบาลที่ดีขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม
  2. ด้านบริหารจัดการโรงพยาบาลสามารถบริหารงานบนข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ลดปัญหาความซ้ำซ้อนในด้านเอกสารเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารระบบวัสดุเวชภัณฑ์และสามารถบริหารการเงินอย่างสัมฤทธิ์ผล
  3. ด้านวิชาการได้ผลสรุปทางด้านสถิติอย่างรวดเร็วถูกต้องทำให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยได้ทันกับสถานการณ์
  4. บุคลากรของโรงพยาบาลเกิดความรู้ความเข้าใจในการทำงานที่เป็นระบบแบบแผนแน่นอน เกิดความรู้ความชำนาญในด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งนับวันจะเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันมากขึ้น
  5. สามารถสนองนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย มาใช้ในการบริหาร บริการโรงพยาบาล

    ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

  1. ศึกษาวิเคราะห์ความต้องการของโรงพยาบาล ทั้งในด้าน Hardware, Software และวางแผนการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ให้เพียงพอแก่ความต้องการของหน่วยงานต่าง ๆ ในโรงพยาบาลตลอดจนเตรียมความพร้อมในการรองรับงานบริการสาธารณสุขทางไกล เช่น Mednet, Telemedicine, Video Conference การเรียนการสอนทางไกลและบริการอื่น ๆ ที่จะมีขึ้นอีกภายหลัง
  2. ฝึกอบรมบุคลากรในโรงพยาบาลให้มีความรู้และทักษะในการใช้งานคอมพิวเตอร์และโปรแกรมต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงาน เช่น Internet, Telemedicine,Video Conference เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานทั้งการอบรมระยะสั้นก่อนเข้าประจำการ (Preplacement)ฟื้นฟูหรือเพิ่มพูนความรู้ในขณะปฏิบัติงาน (On the job training) หรือการเปลี่ยนตำแหน่งงานและ ประสานกับงานผลิตและพัฒนาบุคลากรในการวางแผนฝึกอบรมด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศทังระยะสั้นและระยะยาว
  3. ควบคุม กำกับ ดูแลพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายทั้งในด้านการติดตั้ง วัสดุ อุปกรณ์ และระบบที่ใช้งานให้มีประสิทธิภาพ และใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  4. พัฒนาโปรแกรมใช้งาน (Software) ขึ้นใช้เองหรือจัดหาโปรแกรมสำเร็จรูปที่ได้มีการพัฒนาขึ้นใช้แล้วมีประสิทธิภาพดีมาใช้ในโรงพยาบาล ตามความเหมาะสม
  5. ดูแลและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วงและโปรแกรมใช้งานในโรงพยาบาลให้อยู่ในสภาพที่ดีตลอดเวลา
  6. วิจัยและพัฒนาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร ตามสถานการณ์ความต้องการ ของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง
  7. นิเทศ ติดตามและประเมินผลการใช้อุปกรณ์สารสนเทศของหน่วยงานในโรงพยาบาล

    โครงการที่ดำเนินการในปัจจุบันคือ
    โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริการและบริหารงานของโรงพยาบาลท่าตูมโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

  1. เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการรักษาพยาบาลและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลตลอดจน ระบบการส่งต่อผู้ป่วยในสถานพยาบาลทุกระดับของกระทรวงสาธารณสุข
  2. เพื่อพัฒนาระบบงานข้อมูลข่าวสารและระบบงานเฝ้าระวังโรคให้ถูกต้องรวดเร็ว โดยสามารถลดความซ้ำซ้อนและขั้นตอน การปฏิบัติงานรวมทั้งบุคลากรที่มีจำนวนจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  3. เป็นการพัฒนาคุณภาพบริการของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป
  4. ให้มีฐานข้อมูลสาธารณสุขที่มีความถูกต้อง ตามความเป็นจริงมากที่สุด และสามารถแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงร่วมกันได้ระหว่างหน่วยงาน ทั้งในและนอกสถานบริการทุกระดับ ที่มีความจำเป็นต้องนำเข้าข้อมูลเหล่านั้นไปใช้
  5. พัฒนาระบบสารสนเทศให้มีฐานข้อมูลสำหรับผู้บริหารใช้ในด้านการบริหารงาน การวางแผนสั่งการ ประเมินผล และใช้ประกอบการตัดสินใจในเชิงนโยบาย
  6. ให้มีระบบการจัดการสารสนเทศเครือข่ายที่เป็นเอกภาพ และมีการประสานงานอย่างสอดคล้องระหว่างหน่วยงานสารสนเทศต่าง ๆ ของกระทรวงสาธารณสุข
  7. ให้มีระบบบริการข้อมูลด้านสาธารณสุขที่ถูกต้อง สะดวกในการค้นหา รวดเร็วทันต่อความต้องการแก่ประชาชนทั่วไป และบุคลากรด้านสาธารณสุข
  8. กำหนดแนวทางพร้อมทั้งจัดหาอุปกรณ์ที่มีจำนวนและสมรรถนะที่เหมาะสมกับหน่วยงาน

    โครงการระบบสารสนเทศเพื่อการบริการและบริหารงานของโรงพยาบาลท่าตุม
    ประกอบไปด้วย 6 ระบบงานดังนี้

  1. ระบบงานเวชระเบียนและสถิติ
    1. สามารถลงทะเบียนและบันทึก/แก้ไขประวัติผู้ป่วยใหม่/เก่า/ผู้ป่วยใหม่ฉุกเฉิน
    2. สามารถแยกส่งผู้ป่วยไปตามห้องตรวจ (อายุรกรรม, ศัลยกรรม,เด็ก) ต่าง ๆ ได้
    3. มีความสามารถในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยสถานะต่าง ๆ (ผู้ป่วยใหม่, ผู้ป่วยเก่า,ผู้ป่วยตามนัดหมาย)ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง
    4. สามารถค้นหาประวัติ (Medical / Treatment Record/การแพ้ยา) และนำเสนอให้แพทย์ผู้ทำการตรวจรักษาได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้ง การบันทึกการรักษาสั่งยา
    5. สามารถเชื่อมโยงรับ-ส่งข้อมูลไปยังแผนกที่เกี่ยวข้อง (ห้องยา, LAB, X-Ray, IPD, การเงินประชาสัมพันธ์) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    6. สามารถเก็บข้อมูลสถิติคนไข้ ผู้ป่วยที่มาใช้บริการเพื่อใช้พิมพ์รายงานทางสถิติวิชาการ การบริหาร และการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาได้
    7. สามารถให้บริการบันทึก/บริหาร การยืม/การคืนเวชระเบียนและประวัติคนไข้ได้
    8. มีกระบวนการสำรองเพื่อรองรับการให้บริการในกรณีที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (บัตรดัชนี)
    9. สามารถพิมพ์บัตรประจำตัวผู้ป่วยพิมพ์แผ่นบันทึกข้อมูลผู้ป่วย พิมพ์ใบสั่งยา
    10. สามารถรองรับการเชื่อมข้อมูล กับ ระบบ bar code ได้ และบริษัทจะต้องจัดหา bar code reader ซึ่งมี Decoder ในตัวและสามารถให้ผู้ป่วยรูดเองได้มาพร้อมกับระบบนี้ด้วย
    11. สามารถค้นหาข้อมูลผู้ป่วยด้วย HN แล้วแสดงผล ชื่อ-สกุล ได้ภายในเวลาไม่เกิน 2 วินาที จากจำนวนผู้ป่วย 500,000 คน ในฐานข้อมูล
  2. ระบบงานผู้ป่วยนอก
    1. สามารถเรียกคนไข้ไปพบแพทย์ ตามห้องตรวจ (อายุรกรรม,ศัลยกรรม, เด็ก) ต่าง ๆ ตามลำดับได้
    2. มีความสามารถในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยสถานะต่าง ๆ (ผู้ป่วยใหม่, ผู้ป่วยเก่า,ผู้ป่วยตามนัดหมาย) ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง
    3. สามารถค้นหาประวัติ (Medical / Treatment Record /การแพ้ยา) และนำเสนอให้แพทย์ผู้ทำการตรวจรักษาได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งการบันทึกการรักษาสั่งยา
    4. สามารถเชื่อมโยงรับ-ส่งข้อมูลไปยังแผนกที่เกี่ยวข้อง (ห้องยา, LAB, X-Ray, IPD, การเงิน ประชาสัมพันธ์) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    5. สามารถพิมพ์เอกสารสำรองเพื่อรองรับการให้บริการ ในกรณีที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    6. มีกระบวนการสำรองเพื่อรองรับการให้บริการในกรณีที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    7. สามารถพิมพ์ใบนัดผู้ป่วย และแสดงรายละเอียดการนัดได้
    8. สามารถบันทึกอาการ / การตรวจร่างกาย ข้อมูลสุขภาพ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ความดันชีพจร ฯลฯ
    9. สามารถบันทึกการรักษาและใบสั่งยา
  3. ระบบงานเภสัชกรรม
    1. สามารถบริหาร จัดการยาและเวชภัณฑ์รวมทั้งวัสดุการแพทย์ได้ทั้งหมดทุกแผนกในโรงพยาบาลฯ และสามารถพิมพ์รายงานต่างๆ ที่จำเป็นในการบริหารคลังเวชภัณฑ์ไม่ต่ำกว่า 5 รายงาน
    2. สามารถบันทึก และเรียกดูรายละเอียดของยาแต่ละประเภท (Generic Name and Trade Name) ความแรง Dosage Formบริษัทผู้แทนจำหน่าย ชื่อยาที่เหมือนกัน / ใกล้เคียงกัน /ใช้แทนกันได้ ราคาทุน/ราคาขาย ปริมาณยา Lot Number ขนาดบรรจุวันที่ผลิต/วันหมดอายุ วันยาเข้าและออกจากคลัง
    3. สามารถสืบค้นข้อมูลทางวิชาการ การออกฤทธิ์ของยาการออกอาการข้างเคียงของยา ยาที่ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้
    4. สามารถตรวจสอบ/เรียกดูประวัติการแพ้ยาของคนไข้
    5. สามารถบริหารจัดการ แผนกยา/คลังยาย่อย/ห้องยาตามแผนก/ชั้น/ตึก ต่าง ๆ ได้
    6. จำนวนคลังยา ผู้ใช้ระบบงานฯ ของแต่ละโรงพยาบาลฯ จะต้องสามารถกำหนดจำนวนเองได้ (ในทางเทคนิคต้องออกแบบระบบงานฯ ในลักษณะเช่น การกำหนด Parameter เป็น Table File หรือลักษณะใกล้เคียงกัน หรือพิจารณาว่ามีประสิทธิภาพกว่าเป็นต้น)
    7. สามารถรับใบสั่งยาทางระบบคอมพิวเตอร์จากทุกแผนกในโรงพยาบาลฯได้ และสามารถให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับยาแก่แพทย์
    8. สามารถตัด Stock คำนวณเงินและส่งข้อมูลให้แผนกที่เกี่ยวข้องใน Phase นี้
    9. สามารถพิมพ์สลากยาได้อย่างเหมาะสม (ชื่อคนไข้ ชื่อยาการใช้/การกิน กำหนดขนาด/สีตัวอักษรพิมพ์ซ้ำ/พิมพ์ใหม่) ได้
    10. สามารถเก็บบันทึกสถิติต่าง ๆ ของการใช้-การจ่าย ยาและเวชภัณฑ์ พร้อมทั้งพิมพ์รายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    11. ใน Phase ต่อไปจะต้องสามารถบริหารจัดการการผลิตและผสมยาได้ด้วย
  4. ระบบงานพยาธิวิทยา (ห้อง LAB)
    1. สามารถเชื่อมโยง รับ-ส่งข้อมูลกับแผนกต่าง ๆ เช่น แผนกผู้ป่วยนอก (OPD) ได้
    2. สามารถบันทึกผลการตรวจได้สะดวก
    3. สามารถเก็บบันทึก ประมวลผล การดูผลการตรวจ/วิเคราะห์และประวัติชิ้นเนื้อ/โลหิตของคนไข้
    4. สามารถเก็บค่ามาตรฐาน (Normal/Standard) ต่าง ๆ เพื่อการเปรียบเทียบ
    5. มีความสามารถในการบริหาร จัดเก็บ วัสดุสิ้นเปลืองครุภัณฑ์ต่าง ๆ รวมทั้งการใช้การบำรุงรักษา
    6. มีระบบงานบริการ จัดการ ข้อมูลคลังเลือด
    7. สามารถนัดหมาย และให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่คนไข้ได้
    8. สามารถกำหนดมาตรฐานการคิดคำนวณเงินและเชื่อมต่อไปที่แผนกการเงิน
    9. สามารถเก็บข้อมูลสถิติ คนไข้ ผู้ป่วย ที่มาใช้บริการเพื่อพิมพ์รายงานทางสถิติ ทางวิชาการ ทางบริหารและการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาได้
    10. สามารถพิมพ์ใบแสดงผลแลบได้
  5. ระบบงานรังสีวิทยา (ห้อง X-Ray)
    1. สามารถเชื่อมโยง รับ-ส่งข้อมูลกับแผนกต่าง ๆ เช่น แผนกผู้ป่วยนอก (OPD) ได้
    2. สามารถบันทึกผลการอ่านจากรังสีแพทย์ทั้งระบบ Manual และระบบ on-line
    3. สามารถเก็บบันทึก ผลการตรวจ/วิเคราะห์จากเครื่องมือทางการแพทย์ (เช่น อุปกรณ์การแพทย์ Ultrasound) และประวัติคนไข้ พร้อมทั้งพิมพ์สลาก Film,แผ่นติดซอง Film
    4. มีความสามารถบริหารจัดเก็บ วัสดุสิ้นเปลือง (Film X-Ray ขนาดต่าง ๆ) ครุภัณฑ์ต่าง ๆ รวมทั้งการใช้การบำรุงรักษา
    5. สามารถนัดหมาย และให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่คนไข้
    6. สามารถกำหนดมาตรฐานการคิดคำนวณเงินและเชื่อมต่อไปที่แผนกการเงิน
    7. สามารถเก็บข้อมูลสถิติ คนไข้ ผู้ป่วย ที่มาใช้บริการเพื่อพิมพ์รายงานทางสถิติทางวิชาการทางการบริหาร และการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาได้
  6. ระบบงานการเงินผู้ป่วย (ห้องเก็บเงิน)
    1. สามารถเชื่อมโยง รับ-ส่งข้อมูลทางการเงินกับทุกแผนกได้
    2. สามารถเชื่อมโยงรับผลการคำนวณเงินค่ายา จากห้องจ่ายยา (ระบบงานเภสัชกรรม) ค่า X-Ray จากระบบงานรังสี ค่าLAB จากห้องปฏิบัติการได้
    3. สามารถให้บริการพิมพ์เอกสารการรับเงินเพื่อให้คนป่วยมีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    4. สามารถเก็บบันทึก ประมวลผลรายการรับเงินแยกตามประเภทต่าง ๆ พร้อมทั้งรายงาน
    5. สามารถบริหาร จัดการ อำนวยความสะดวกในการแบ่งเวร แบ่งกะการรับเงิน (ตลอด 24 ชั่วโมง) อย่างรัดกุมถูกต้อง
    6. มีฐานข้อมูลมาตรฐานการคิดคำนวณเงินและเชื่อมต่อไปที่แผนกต่าง ๆ ทั้งหมด สามารถรับเงินจากผู้ป่วยเพียงบางส่วน และทำการลดหย่อนบางส่วนไปได้ตามความเห็นชอบของผู้บริหารโรงพยาบาล(กรณีผู้ป่วยมีรายได้น้อย)